วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 
กฎหมายกับศีลธรรม
ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้ ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้ มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า ศีลธรรม

กฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่มุ่งถึงการกระทำภายนอกของมนุษย์เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา จารีตประเพณีนั้นอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การที่พบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงาน ในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยมีการที่จะต้องไป สู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมาก มีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิงก็ถือว่าเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่ง

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ
การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้  การตีความ  และการยกเลิกกฎหมาย เช่น  หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า จะมีเนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้   หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป
รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่างๆ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด  กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้  หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้
ประกาศคณะปฏิวัติ ถือเป็นกฎหมายชนิดหนึ่ง แต่เป็นกฎหมายชนิดพิเศษ ที่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกกฎหมายที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายประเภทนี้ ถือกำเนิดขึ้นด้วยวิธีการพิเศษ โดยทั่วไปแล้วอำนาจในการปกครองประเทศสูงสุดคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เมื่อคณะปฏิวัติทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองทั้งหมด มาเป็นของคณะปฏิวัติแล้ว จึงถือว่าคณะปฏิวัติเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองสูงสุดในขณะนั้น ดังนั้นประกาศของคณะปฏิวัติในขณะนั้น จึงถือเป็นประกาศของคณะผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อันถือเป็นกฎหมายนั่นเอง
พระราชกำหนด ( emergency decree )  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกำหนดมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอร่างพระราชกำหนด เช่นว่าให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายลำดับชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เพราะพระราชบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าทีในการตราพระราชบัญญัติคือ รัฐสภา ดังนั้น รัฐสภาจะตราพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ พระราชบัญญัติคือบทกฎหมายที่ใช้ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
เทศบัญญัติ (Municipal Law) คือ กฎหมายที่ผู้บริหารท้องถิ่นบัญญัติขึ้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือกฎหมายเทศบาลนั่นเอง
หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ.2496 โดยผู้ที่มีอำนาจในการเสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พศ.2542
พระบรมราชโองการ หมายถึง คำสั่งราชการของพระราชา จะใช้เมื่อมีคำสั่งราชการจากพระราชาหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับประเทศไทยไทย พระราชโองการ หมายถึง คำสั่งราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

3. "แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้" ข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ 
         ในการเรียนนักศึกษาครูมานั้น เราก็ทราบกันดีว่าจรรยาบรรณครูที่ดี ต้องทำตัวอย่างไร ไม่ว่าศิษย์เราจะไม่ดีแค่ไหน เราก็ไม่ควรลงไม้ลงมือ เพราะสมัยนี้ โลกสังคมออนไลน์มันเผยแพร่กันเร็วมาก บ้างก็เอามาพูดซ้ำแต่ทำให้เกิดเรื่องเสียๆหายๆ เพราะการบอกต่อๆกันนั้น สารที่นำมาพูดถึง มักจะถูกบิดเบือน การที่ครูตีเด็ก คงเป็นเรื่องปกติในสมัยก่อน แต่สมัยนี้ พ่อแม่ตามใจลูก เลี้ยงแบบพ่อแม่รังแกฉัน ครูที่สอนแตะต้องลูกเมื่อไหร่ก็เป็นเรื่องทันที สังคมไทยสมัยนี้จึงมีแต่เรื่องเสื่อมเสีย ประเพณีต่างๆที่ดีงานหรือที่ควรเอาอย่างเริ่มหายไปจากสังคม หากถามว่าคิดอย่างไรกับการที่ครูตีจนเด็กช้ำ คงต้องตอบว่ามันเป็นการกระทำที่เกินไป จะลงโทษก็ควรลงโทษพอประมาณ เพราะการกระทำ หรือทำร้ายร่างกายเช่นนี้มีความผิดทางกฏหมายผู้กระทำผิดอาจมีโทษจำคุกหรือปรับ ไม่ก็ทั้งจำทั้งปรับเลย

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 
     S หรือ Strengths จูดแข็งของผมคือ ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา กล้าคิดนอกกรอบ เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น
    W หรือ Weaknesses จุดอ่อนของผมคือ ค่อนข้างขี้เกียจนิดนึง
    O หรือ Opportunities โอกาสที่ผมได้รับคือ การได้เรียนสูงๆ พ่อกับแม่ยังอยู่ด้วยกัน ไม่ขาดสิ่งใดในชีวิตเลย
     T หรือ Threats อุปสรรค์ที่ผมเจอก็คือ ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา มีอุปสรรค์อย่างเดียวคือการบ้านที่มาพร้อมกับการนอนน้อย จึงทำให้รู้สึกร่างกายทรุดโทรม สมองไม่ค่อยเดิน คิดอะไรนึกอะไรไม่ค่อยออก บางครั้งรู้สึกว่าตัวเรากำลังแก่ตัวลง

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ 
       ข้อดีกับอาจารย์อภิชาติคือ นอกจากจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับกฏหมายแล้ว อาจารย์ยังสอนเรื่องของความรับผิดชอบต่อความเป็นครู ว่าเราต้องยั้งคิดยั้งทำเวลาที่เราไปสอนนักเรียน เราควรปฏิบัติตนอย่างไร ควรปฏิบัติตนให้อยู่ระเบียบ อยู่ในกรอบอย่างมีวินัย เวลาไปโรงเรียนก็ควรไปก่อนนักเรียน เจอใครให้ยกมือไหว้ อย่าเป็นคนมือหนัก ถ้าเราไหว้ทุกคน ทุกคนในโรงเรียนก็จะเอ็นดูเรา แต่หากเราเข้าไปในโรงเรียนแล้วทำตัวไม่เหมาะสมหรือทำตัวไม่อ่อนน้อม ทุกคนในโรงเรียนก็จะมองเราไม่ดี และสถาบันก็จะดูไม่ดีไปด้วย ส่วนข้อเสียของอาจารย์นั้น ไม่ทราบจริงๆ เพราะได้เรียนกับอาจารย์แค่เทอมเดียว มิอาจเห็นถึงข้อเสียได้ เพราะอาจารย์เตรียมการ หรือเตรียมตัวพร้อมที่จะมาสอนเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น