วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 
กฎหมายกับศีลธรรม
ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้ ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้ มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า ศีลธรรม

กฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่มุ่งถึงการกระทำภายนอกของมนุษย์เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา จารีตประเพณีนั้นอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การที่พบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงาน ในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยมีการที่จะต้องไป สู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมาก มีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิงก็ถือว่าเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่ง

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ
การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้  การตีความ  และการยกเลิกกฎหมาย เช่น  หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า จะมีเนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้   หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป
รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่างๆ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด  กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้  หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้
ประกาศคณะปฏิวัติ ถือเป็นกฎหมายชนิดหนึ่ง แต่เป็นกฎหมายชนิดพิเศษ ที่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกกฎหมายที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายประเภทนี้ ถือกำเนิดขึ้นด้วยวิธีการพิเศษ โดยทั่วไปแล้วอำนาจในการปกครองประเทศสูงสุดคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เมื่อคณะปฏิวัติทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองทั้งหมด มาเป็นของคณะปฏิวัติแล้ว จึงถือว่าคณะปฏิวัติเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองสูงสุดในขณะนั้น ดังนั้นประกาศของคณะปฏิวัติในขณะนั้น จึงถือเป็นประกาศของคณะผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อันถือเป็นกฎหมายนั่นเอง
พระราชกำหนด ( emergency decree )  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกำหนดมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอร่างพระราชกำหนด เช่นว่าให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายลำดับชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เพราะพระราชบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าทีในการตราพระราชบัญญัติคือ รัฐสภา ดังนั้น รัฐสภาจะตราพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ พระราชบัญญัติคือบทกฎหมายที่ใช้ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
เทศบัญญัติ (Municipal Law) คือ กฎหมายที่ผู้บริหารท้องถิ่นบัญญัติขึ้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือกฎหมายเทศบาลนั่นเอง
หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ.2496 โดยผู้ที่มีอำนาจในการเสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พศ.2542
พระบรมราชโองการ หมายถึง คำสั่งราชการของพระราชา จะใช้เมื่อมีคำสั่งราชการจากพระราชาหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับประเทศไทยไทย พระราชโองการ หมายถึง คำสั่งราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

3. "แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้" ข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ 
         ในการเรียนนักศึกษาครูมานั้น เราก็ทราบกันดีว่าจรรยาบรรณครูที่ดี ต้องทำตัวอย่างไร ไม่ว่าศิษย์เราจะไม่ดีแค่ไหน เราก็ไม่ควรลงไม้ลงมือ เพราะสมัยนี้ โลกสังคมออนไลน์มันเผยแพร่กันเร็วมาก บ้างก็เอามาพูดซ้ำแต่ทำให้เกิดเรื่องเสียๆหายๆ เพราะการบอกต่อๆกันนั้น สารที่นำมาพูดถึง มักจะถูกบิดเบือน การที่ครูตีเด็ก คงเป็นเรื่องปกติในสมัยก่อน แต่สมัยนี้ พ่อแม่ตามใจลูก เลี้ยงแบบพ่อแม่รังแกฉัน ครูที่สอนแตะต้องลูกเมื่อไหร่ก็เป็นเรื่องทันที สังคมไทยสมัยนี้จึงมีแต่เรื่องเสื่อมเสีย ประเพณีต่างๆที่ดีงานหรือที่ควรเอาอย่างเริ่มหายไปจากสังคม หากถามว่าคิดอย่างไรกับการที่ครูตีจนเด็กช้ำ คงต้องตอบว่ามันเป็นการกระทำที่เกินไป จะลงโทษก็ควรลงโทษพอประมาณ เพราะการกระทำ หรือทำร้ายร่างกายเช่นนี้มีความผิดทางกฏหมายผู้กระทำผิดอาจมีโทษจำคุกหรือปรับ ไม่ก็ทั้งจำทั้งปรับเลย

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 
     S หรือ Strengths จูดแข็งของผมคือ ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา กล้าคิดนอกกรอบ เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น
    W หรือ Weaknesses จุดอ่อนของผมคือ ค่อนข้างขี้เกียจนิดนึง
    O หรือ Opportunities โอกาสที่ผมได้รับคือ การได้เรียนสูงๆ พ่อกับแม่ยังอยู่ด้วยกัน ไม่ขาดสิ่งใดในชีวิตเลย
     T หรือ Threats อุปสรรค์ที่ผมเจอก็คือ ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา มีอุปสรรค์อย่างเดียวคือการบ้านที่มาพร้อมกับการนอนน้อย จึงทำให้รู้สึกร่างกายทรุดโทรม สมองไม่ค่อยเดิน คิดอะไรนึกอะไรไม่ค่อยออก บางครั้งรู้สึกว่าตัวเรากำลังแก่ตัวลง

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ 
       ข้อดีกับอาจารย์อภิชาติคือ นอกจากจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับกฏหมายแล้ว อาจารย์ยังสอนเรื่องของความรับผิดชอบต่อความเป็นครู ว่าเราต้องยั้งคิดยั้งทำเวลาที่เราไปสอนนักเรียน เราควรปฏิบัติตนอย่างไร ควรปฏิบัติตนให้อยู่ระเบียบ อยู่ในกรอบอย่างมีวินัย เวลาไปโรงเรียนก็ควรไปก่อนนักเรียน เจอใครให้ยกมือไหว้ อย่าเป็นคนมือหนัก ถ้าเราไหว้ทุกคน ทุกคนในโรงเรียนก็จะเอ็นดูเรา แต่หากเราเข้าไปในโรงเรียนแล้วทำตัวไม่เหมาะสมหรือทำตัวไม่อ่อนน้อม ทุกคนในโรงเรียนก็จะมองเราไม่ดี และสถาบันก็จะดูไม่ดีไปด้วย ส่วนข้อเสียของอาจารย์นั้น ไม่ทราบจริงๆ เพราะได้เรียนกับอาจารย์แค่เทอมเดียว มิอาจเห็นถึงข้อเสียได้ เพราะอาจารย์เตรียมการ หรือเตรียมตัวพร้อมที่จะมาสอนเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7

อนุทินที่ 7

ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ  เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ตอบ
ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข.เด็ก หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค.การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
          ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมายกำหนดจะต้องถูกลงโทษปรับไม่เกิน 1000 บาท ในส่วนของการผ่อนผันส่งเด็กเข้าเรียน ถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาคณะกรรมการการศึกษาประถมศึกษาแห่งชาติมีหน้าที่ในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันการเข้าเรียนตามคำร้องขอของผู้ปกครองโดยมีคณะกรรมการผ่อนพัน จำนวน 5 คน คือ ผู้อำนวยการเป็นประธาน ครูชั้นประถมศึกษาปีที่1 1 คน ผู้แทนกรรมการโรงเรียน 2 คน รองผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยจะถือเอาเสียงข้างมากในการตัดสิน

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ
- อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ใน พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา และสืบสานศิลปวัฒนธรรม
          - การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
          - การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
                   - คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
                   - ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
          - บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ และตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
          - การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
          - ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรีไม่เป็นนิติบุคคล ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล
          - ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          - อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ พิจารณาเสนอนโยบายแผน และมาตรฐานการศึกษา รวมไปถึงพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
          - ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          - หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศ ให้คำปรึกษา และแนะนำเพื่อการปรับปรุง ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์วิจัย
          - หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
          - บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารและการดำเนินงาน
          - บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
          - ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
          - หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้
                   - การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
                   - การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
                   - การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
          - ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ

          -  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6

อนุทินที่ 6
1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา
การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง[1] โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คน ๆ หนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน

ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดอย่างต่อเนื่อง 12 ปี แต่โอกาสที่ผู้เรียนจะเรียน ไม่ครบ 12 ปี เนื่องจากความจำเป็นต่างๆก็สามารถทำได้ คือ เรียนครบ 9 ปี ก็ออก ผู้เรียนก็จบการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ ศ 2542   กำหนด แต่หากผู้เรียนเรียนจบ 12 ปี เป็นการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ ไประยะหนึ่งแล้วถ้า ต้องการจะกลับ เข้ามาศึกษาต่ออีก 3 ปี ก็สามารถทำได้ตามสิทธิที่พึงจะได้รับที่รัฐจะต้องจัดให้ ข้อมูลจาก สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

ค. การศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษา (Education)ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา มีความหมายว่า "กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต" และมาตรา 15 ได้กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ง. มาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล และเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา มีดังนี้
1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ
2. มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา
2.1 มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2.2 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 มาตรฐานการศึกษาพิเศษ
3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร

จ. การประกันคุณภาพภายใน
หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

ช. การประกันคุณภาพภายนอก
หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฏเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็น กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย

ซ. ผู้สอน
ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน และนอกจากการสอนแล้วครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ฌ. ครู
คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป

ญ. คณาจารย์
คือ คณะของครู - อาจารย์
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา
หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา
หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา
  เป็นบุคลากรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในราชการไทย ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ข้าราชการครู" ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการครูที่สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานครูเทศบาล พนักงานครูองค์การบริหารส่วนตำบล

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ  ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มีความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  และของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ
การกีฬา  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถใน
การประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๙ การจัดระบบโครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
(๑) มีเอกภาพด้านนโยบาย  และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(๒) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๓) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา  และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(๔) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  และการพัฒนาครู  คณาจารย์  และบุคลากรทาง
การศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๕) ระดับทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถานบันศาสนา  สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น

3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
-  การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ ดังนี้

    1.  หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

    2.  หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย

    3.  หลักแห่งความเสมอภาค

    4.  หลักการมีส่วนรวม

    5.  หลักแห่งความสอดคล้อง

       อุดมการณ์การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลกเพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิตรวมทั้งเพื่่อการพัฒนาหน้าีที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัวและเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคตกิจกรรมการจัดการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้สามารถขับเคลื่อน
อุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่นำเสนอคือ
การจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการ
การจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการจะช่วยพัฒนาทักษะที่ต้องการให้เกิดแก่นักเรียนหลายประการไปพร้อมๆ
กันทั้งทักษะการคิด ทักษะการจัดการ ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการทำงานร่วมกันโดยนักเรียนต้องมีการและใช้ความรู้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม

อีกทั้งนักเรียนยังได้เรียนรู้ คุณธรรมการอยู่ร่วมกันโดยไม่ต้องท่องจำหรือบังคับให้ทำ
หลักการสำคัญอยู่ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง ทำด้วยความสุข ครูต้องเป็นผู้ที่สามารถชี้แนะ
ตั้งคำถามให้นักเรียนได้แง่คิด อดทนที่จะเห็นนักเรียนได้ลงมือคิด วางแผน ปฏิบัติด้วยตนเอง

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
หมวด 3 ระบบการศึกษา
หมวด 4 แนวกรจัดการศึกษา

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฏหมายมีอะไรบ้าง
หมวดนี้มี 5 มาตรา แต่ก็มีความสำคัญมากในกระบวนการปฏิรูปเพราะเป็นการวางพื้นฐาน
ไปสู่การที่จะ "ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา" ตามวรรค 2 มาตรา 8  และเป็นการ
กำหนดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เพื่อตอบสนองต่อหลักการตามวรรค 1 ของมาตรา 8

        มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง
และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

          การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถ
พึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
          การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ
ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง
          การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
          ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย  ซึ่ง
เกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า "โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้น
ปฏิบัติ
          วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถ
อธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่ "บุคคล
ซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล" ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่
ถกเถียงกันก็คือคำ "แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า "แรกเกิด" อาจจะ
ทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลัง
แต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์
คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ" ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ
สติปัญญา
          วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศ
หรือมีความสมารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ

          มาตรา 11 บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล
ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา17 และตาม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษา
ภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว

          มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริม
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโก
ที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8
ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบ
ต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้

          มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์
ดังต่อไปนี้
          (1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้
การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
          (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคล
ซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
          (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

          มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์
ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
          (1) การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ใน
ความดูแลรับผิดชอบ
          (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
          (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
          ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี" นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็น
ที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ข้อได้ แต่ถ้าผู้ใดมีส่วน
"สนับสนุน" เช่นบริจาคทรัพย์ก็อาจได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 3

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

                1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย  หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น สามารถจัดการศึกษาในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกล

                2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ

                3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น  เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้  เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชมการสาธิต การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

การเชื่อมโยงการศึกษาทั้ง 3 ระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                การศึกษาทั้ง 3 ระบบ เป็นวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งสามารถนำไปพัฒนาชีวิตและสังคมจึงต้องมีการผสมผสานการศึกษาทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน กล่าวคือ บุคคลเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัยตั้งแต่เกิดโดยการเลี้ยงดูจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และการเรียนรู้ อยู่ร่วมในชุมชน รวมถึงการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ จึงสรุปได้ว่าการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ ที่บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน และการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการนั้นต้องอาศัยผลรวมของกระบวนการที่มีความ สัมพันธ์กัน คือ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
หลักการและแนวคิด 
                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล งบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป ไปยังสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management)
                นักวิชาการเชื่อว่า การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพได้ 
 
ลักษณะ
                นิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน เพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกันเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นบุคคลสมมติขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่และสามารถทำกิจการใดๆ อันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนั้น 
 
ประเภท
                นิติบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน และนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน
                
1.นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอำนาจจากกฎหมายเอกชน เป็นการดำเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชนและไม่มีอำนาจเหนือบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน
2.นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายมหาชนที่เป็นการบริการสาธารณะที่เป็นอำนาจมหาชนหรืออำนาจรัฐ
 
สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคลและเป็นนิติบุคคล
                มาตรา 35 ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเฉพาะที่เป็นสถานศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อกฎหมายให้การรับรองแต่เฉพาะสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเท่านั้น ที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้น สถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นที่มิได้อยู่ใต้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้แก่
1.       สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
2.       สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 
3.       สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
4.       สถานศึกษาสังกัดส่วนราชการอื่น 
5.       สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
6.       วิทยาลัยชุมชน 
7.       โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
- การปรับความคิดของครูให้มองนักเรียนบนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ พร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ มีอิสระในการคิด ลงมือ ปฏิบัติจริง

- การจัดประสบการณ์เรียนรู้ยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนให้ถึง ศักยภาพสูงสุด คือผู้เรียนได้พัฒนาตน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม หลังเรียนหรือหลังฝึกกิจกรรม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตน

- การยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่าง มีวิจารณญาณ มีรูปแบบการคิดของตนเอง ค้นพบตนเอง สามารถเชื่อมโยง ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ไปใช้ในชีวิตจริงได้

- การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักความแตกต่างระหว่าง บุคคล

- การจัดประสบการณ์โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการ คุณธรรมในการจัดประสบการณ์ทุกกลุ่มวิชา และทุกขั้นตอนในการจัดการ เรียนรู้ ถือว่าครูทุกคนมีหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้ประพฤติตนยึดหลักคุณธรรม และพัฒนาให้มีค่านิยมอันพึงประสงค์

- การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้กระบวนการเรียน รู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้วิธีวัดและประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง และถือว่า การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ และใช้กระบวนการ วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
บางครั้งผมก็คิดว่าใบประกอบวิชาชีพนั้นมันก็ไม่จำเป็นอะไรเลย เพราะสมัยนี้ กฏหมาย ทำให้ใครก็สอบใบประกอบวิชาชีพได้ แล้วคนส่วนใหญ่ ก็ไม่มีจิตวิญญาณความเป็นครู ขี้เกียจสอน ไม่มีวินัย ขาดตกบกพร่องหลายประการ จริงๆแล้ว การที่ใครจะสอบเป็นครูได้นั้น ต้องให้คนที่จะสอบ มาสอนเด็กเป็นเวลา 1 ปีเป็นอย่างต่ำ และ มาสอบถามนักเรียนถึงการสอน นิสัย ว่าเป็นอย่างไร มิเช่นนั้น กรรมการก็ไม่ทราบเกี่ยวกับคนที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพเลย

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างไรบ้าง
1. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน 
2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 
3. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ 
4. ดำเนินการวางแผนการระดมทรัพยากร ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
5. ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง จัดประชุม 
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อหาแนวร่วมในการให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา สำรวจแหล่งเรียนรู้ สถานประกอบการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อทำข้อตกลงการให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน จัดการบริหาร และใช้ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น  
        6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ 

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีพัฒนาได้อย่างไร
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ครูผู้สอนจะต้องทำการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อม ๆ ไปกับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้
         1.. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ เนื้อหา 
         2. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา
         3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ควรพิจารณาลักษณะของกิจกรรม ดังต่อไปนี้
             1. ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติอย่างตื่นตัว 
             2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ 
             3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดแก้ปัญหา หรือพัฒนาชิ้นงาน หรือ โครงการ 
             4. ต้องคำนึงให้ผู้เรียนร่วมเรียนรู้ หรือทำงานเป็นกลุ่ม 
         4. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น ว่าจะต้องใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทใดที่ช่วยสร้างความเข้าใจในความคิดรวบยอดนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเน้นกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการที่ผู้เรียนต้องลงมือค้นหาคำตอบ ทำความเข้าใจด้วยตนเอง หรือสะท้อนการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 
         5. จัดเตรียม สื่อการเรียนรู้ อาจจะผลิตขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม อาจอยู่ในรูปของ
             1. ชุดการทดลอง 
             2. ชุดกิจกรรม 
             3. สิ่งตีพิมพ์ เช่น เอกสาร ตำรา วารสาร 
             4. เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น อินเตอร์เนต E-Learning มัลติมีเดีย Web-based learning 
             5. แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
             6. แหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ 
         6. นำไปใช้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เช่น 
             1. ผู้เรียน 
             2. ครูผู้สอน
             3. สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 
         7. ประเมินผลสื่อ โดยพิจารณาจาก
             1. ประเมินผลผลิต คือ ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อ และด้านประเมินผล 
             2. ประเมินบริบทการใช้ เพื่อหาบริบทที่เหมาะสมในการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพจริง เช่น การจัดจำนวนสมาชิกในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่ใช้ Web-based learning 
             3. ประเมินด้านความคิดเห็น เจตคติที่มีต่อการเรียนจากสื่อการเรียนรู้ 
             4. ประเมินด้านความสามารถ (Performance) ของผู้เรียน ความสามารถของผู้เรียนประเมินได้จากการกระทำที่แสดงออกโดยตรงจากการทำงานด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สถานการณ์ที่กำหนดให ที่เป็นสภาพจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานจริง อาจประเมินได้จาก กระบวนการทำงาน กระบวนการคิด (Cognitive process) โดยเฉพาะการคิดในระดับสูง (higher-order thinking) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์วิจารณ์ การคิดแบบสร้างสรรค์ การคิดเชิงเหตุผล เป็นต้น นอกจากนี้อาจประเมินเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการการแก้ปัญหา 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
- https://www.gotoknow.org/posts/384902)
- http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=54806&bcat_id=16
- http://www.anantaa.ac.th/about-anantaa/principles-of-management.php
- http://mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post_3505.html
- https://www.gotoknow.org/posts/358515
- http://www.moe.go.th/hp-vichai/ex-prb05-2.htm
- https://www.gotoknow.org/posts/333727

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว


อนุทินที่ 3


จากกรณีครูสอนภาษาไทยโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งใน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ได้ล่อลวงเด็กนักเรียน ม.3 ไปข่มขืนที่รีสอร์ท เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา กระทั่งต่อมา ครูประจำชั้นทราบเรื่องจึงนำเด็กไปแจ้งความ ทำให้พ่อเด็กและตัวเด็กไม่สามารถอยู่ในบ้านได้ เนื่องจากเจอภาวะความกดดันจากผู้นำท้องถิ่นให้เด็กต้องถอนฟ้องคดีดังกล่าว
ล่าสุด สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 12 (สพม.) นครศรีธรรมราช มีคำสั่งที่ ศธ.04242/5668 ย้ายครูคนดังกล่าว ไปช่วยราชการที่โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช และเข้ารายงานตัวกับ ผอ.โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2557 แล้วนั้น
นายวิรัช หัตถประดิษฐ์ ครูสอนวิชาพละศึกษา และเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเกาะวิทยา, นายสันติ กิ่งรัตน์ นายก อบต.บ้านเกาะ รวมทั้งคณะครูทั้งโรงเรียนบ้านเกาะรวม 17 คน และตัวแทนนักเรียนและผู้ปกครองรวมกว่า 60 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายจำเริญ รัตนบุรี ผอ.สพม.เขต 12 เพื่อให้ทบทวนคำสั่งย้ายครูคนดังกล่าว เสนอให้ย้ายมาประจำที่ สพม.เขต 12 เป็นการกรณีเร่งด่วน หากไม่ดำเนินการตามที่ร้องขอ จะรวมตัวเคลื่อนไหวขับไล่ครูคนดังกล่าวรวมทั้งนายสมปอง ภักดีกิจ ผอ.โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา
นายวิรัช กล่าวว่า โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนไม่กี่ร้อยคน การที่ สพม.เขต 12 ย้ายครูที่มีพฤติกรรมอันน่ารังเกียจมาอยู่ด้วย จะทำให้สถานการณ์ของโรงเรียนแย่ลงไป ที่สำคัญตนรู้จักและสนิทสนมกับครูคนนี้เป็นอย่างดี และมักก่อเหตุในลักษณะนี้มาตลอด ตั้งแต่สอนอยู่โรงเรียนสระแก้ววิทยา ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ก่อเหตุเรื่องชู้สาวกับนักเรียนสาว ม.2 จนต้องยอมรับเลี้ยงดูนักเรียน ม.2 เป็นภรรยาในปัจจุบัน
เมื่อถูกย้ายมาประจำที่โรงเรียนคงคาประชารักษ์ ต.กะหรอ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ก็มีปัญหาเรื่องเดิมอีก ล่าสุด ถูกย้ายมาที่โรงเรียนโมคลานประชาสรรค์ก็มาก่อเหตุซ้ำอีก ตนและคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู นักเรียนและผู้ปกครองจึงรับพฤติกรรมดังกล่าวไม่ได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้
          ระบบราชการของเราไม่เข้มแข็ง ระบบการลงโทษทางกฎหมายก็อ่อนแอ จึงทำให้คนที่คิดจะทำผิด ไม่ยั้งคิดยั้งทำ อยากจะทำอะไรก็ทำ เพราะไม่เกรงกลัวกฎหมาย
อยากให้แก้ไขเรื่องของกฎหมาย ให้มีความเข้มข้น โทษรุนแรงได้เลย เพราะถ้ายังเบาๆอยู่แบบปัจจุบัน คนก็ยังคงทำผิดกันไม่เลิก มีข่าวข่มขืนกันทุกวัน

อนุทินที่ 1
สวัสดีครับ
ผมชื่อ นายปฏิภาณ  นามสกุล ชมพัฒน์  ชื่อเล่น น็อต  เชื้อชาติ ไทย
สัญชาติ ไทย   ศาสนา พุทธ 
วันเกิด วันอาทิตย์ ที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ. 2537    อายุ 23 ปี
ผมเป็นลูกคนที่สอง มีพี่น้อง 2 คน
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 53 หมู่ 1 ตำบล คลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ รหัสไปรษณีย์ 81120
หมายเลขโทรศัพท์ 085 793 1170
อีเมลล์ Patipanchompat@gmail.com

ประวัติการศึกษา
         -          สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนอนุบาลคลองท่อม
         -          สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจาก โรงเรียนคลองท่อมราษฏ์รังสรรค์
นิสัยส่วนตัว เป็นคนมองโลกในแง่ดี ชอบเฮฮาทำให้ผู้อื่นหัวเราะได้เสมอ อัธยาศัยดี มีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ความสามารถพิเศษ วาดภาพ  
คติประจำใจ บางสิ่งมีไว้ไม่ต้องใช้ ดีกว่าต้องใช้แล้วไม่มี
ความใฝ่ฝันในอนาคต เป็นข้าราชการครูหรือทหารก็ได้
งานอดิเรก ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย เล่นเกม
สัตว์ที่ชอบ สุนัข   วิชาที่ชอบ ภาษาอังกฤษ (ภาษาต่างประเทศ)

อุดมการณ์ความเป็นครู
หน้าที่ภารกิจในความเป็นครู คือแหล่งความรู้
รวบรวมทำความเข้าใจกับข้อมูล แล้วเอามาทำเป็นการป้อน ความรู้ให้กับลูกศิษย์ ด้วยจิตวิญญาณของครู

เป้าหมายของชีวิต

ข้าพเจ้าจะเป็นครูภาษาอังกฤษที่ดีและเก่ง รวมทั้งเป็นผู้ให้ด้วยใจโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
อนุทินที่ 2
คำถามทดสอบความเห็น

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เพราะว่ากฎหมายข้อบังคับ หรือเปรียบเสมือนกติกา ที่ทุกคนในประเทศนั้น ๆ ต้องเคารพและยึดถือปฏิบัติตาม ถ้าหากไม่มีกฎหมาย ก็จะทำให้ประชาชนอยู่กันอย่างไม่สงบสุข มีภัยคุกคาม มีการฉ้อฉล การทำร้ายร่างกาย การทุจริตทุกอย่าง และอื่น ๆ
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่ หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมนี้จะอยู่ไม่ได้ เพราะถ้าหากไม่มีกฎหมายแล้ว คนจะไม่เกรงกลัว และกล้ากระทำผิดทุกอย่าง เช่น การคุกคามทางเพศ การทะเลาะวิวาทถึงขั้นเสียชีวิต จนทำให้สังคมนั้นไม่สงบสุข
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
 ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ค. ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
2. จารีตประเพณี ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
3. หลักกฎหมายทั่วไป ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. จารีตประเพณี ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
2. คำพิพากษาของศาล จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ง. ประเภทของกฎหมาย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระราชกฤษฎีกา
5. กฎกระทรวง
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ เพราะว่าการที่ทุกประเทศมีกฎหมายนั้น เพื่อให้ประเทศนั้น ๆ มีความสงบสุขภายในประเทศ และให้ประชาชนเกรงกลัวการกระทำผิด เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงทำให้ประชาชนมีความผาสุกกันถ้วนหน้า
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย หมายถึง กฎหมายต้องมีสภาพบังคับเพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ภาพบังคับให้ทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกัน คือ หากเป็นโทษสูงสุดจะใช้วิธีประหารชีวิต ซึ่งปางประเทศให้วิธีการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า แขวนคอ แต่ประเทศไทยในปัจจุบันให้นำไปฉีดยาให้ตายใช้วิธีประหารด้วยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากนั้นก็เป็นการจำคุก เป็นการเอาตัวนักโทษควบคุมในเรือนจำ ซึ่งต่างกับกักขังเป็นการเอาตัวไปกักไว้ที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ เช่นที่อยู่ของผู้นั้นเอง หรือสถานที่อื่นที่ผู้ต้องกักขังมีสิทธิดีกว่าผู้ต้องจำคุก สำหรับกฎหมายไทยโทษกักขังจะใช้เฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดครั้งแรก และความผิดนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ศาลจึงจะลงโทษกักขังแทนจำคุกได้ ส่วนการปรับคือ ให้ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
ภาพบังคับในทางแพ่งก็ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตกเป็นโมฆะ การทำนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยก็ดี เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี ตกเป็นโมฆะ การให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากการไม่ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกละเมิดเป็นต้น
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
          1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเภณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
          2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป
          3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายน้อยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ  
          4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเภณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเภณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า  ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น  ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย  ประกอบด้วย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระราชกฤษฎีกา
5. กฎกระทรวง
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระ สำหรับการยกเลิกหรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในตัวรัฐธรรมนูญเองจะกำหนดวิธีการยกเลิก หรือแก้ไขที่ยากกว่าการออกพระราชบัญญัติ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการแก้ไขบ่อยนัก การแก้ไขหรือการที่จะออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจึงต้องเป็นเรื่องที่จำเป็น จริง
2. พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระเช่นเดียวกัน การยกเลิกหรือแก้ไขสามารถกระทำได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ
3. พระราชกำหนด มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่การออกพระราชกำหนดจะมีวิธีที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชกำหนดจะออกโดยคณะรัฐมนตรี การที่จะออกพระราชกำหนดได้จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ เท่านั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย ซึ่งจะต่างกับพระราชบัญญัติตรงที่พระราชบัญญัติกว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ก็ ต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ แต่พระราชกำหนดเพียงแค่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้แล้ว เพียงแต่ว่าพระราชกำหนดนั้น เมื่อออกมาแล้วหากอยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบทันที แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อให้สภาเห็นชอบทันทีที่เปิด สมัยประชุม และเมื่อนำเข้าสู่สภาแล้ว หากสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ใช้บังคับได้ต่อไปเหมือนกับพระราชบัญญัติ แต่หากสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะตกไปไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อ ไป แต่จะไม่กระทบกระเทือนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วตามที่พระราชกำหนดนั้นบัญญัติไว้
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีฐานะการบังคับใช้ที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด การออกพระราชกฤษฎีกาจะต้องมีกฎหมายประเภทพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาไม่สามารถออกได้เองโดยลำพัง ผู้ที่ออกพระราชกฤษฎีกาคือคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบอีก
5. กฎกระทรวง มีฐานะที่รองลงมาจากพระราชกฤษฎีกาอีกทีหนึ่ง ผู้ที่ออกกฎกระทรวงก็คือรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้น การออกจะต้องออกโดยมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้ เมื่อออกแล้วสามารถใช้บังคับได้ทันที สำหรับ ประกาศคณะปฏิวัติ นั้น จะมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่การออกจะออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งกุมอำนาจในขณะนั้น และจะมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก การยกเลิกนั้นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติยกเลิก
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย


ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศวา่ จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำ ผิดหรือถูก
          ตอบ รับบาลกระทำผิด เพราะว่ารับบาลก้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน รัฐบาลคือ ทาสของประชาชน ประชาชนมีสิทธิของตนเองที่จะเรียกร้องประชาธิปไตย และอีกอย่างหนึ่ง ประชาชนได้ประกาสว่าจะชุมนุมกันอย่างสงบ แต่รัฐบาลห้ามปรามการชุมนุม เท่ากับว่ารับบาลได้ริบรอนสิทธิของประชาชน และเป็นการกระทำผิดอย่างมหันที่รัฐบาลทำร้ายประชาชน
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
          ตอบ กฎหมายการศึกษาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา หรือกฎหมายที่ครูและนักเรียนต้องรู้ เพื่อนำไปปฏิบัติตาม
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง


          ตอบ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายการศึกษา ก็จะทำให้เรามีความลำบากเมื่อมีความคดีความ หรือกระทำผิดต่อกฎหมายการศึกษา แต่ถ้าหากเราได้เรียนวิชานี้ ก็จะทำให้เรามีความระมัดระวังในชีวิตครูมากขึ้น และทำให้เรามีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาที่จะทำอะไรก็ตาม และทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอย่างสันติและสงบสุข